๑
แนวคิดในการจัดตั้งกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ ของกองทัพบกนั้น ก็คงอาศัย พื้นฐานทางด้านจิตใจ ขนบธรรมเนียมประเพณี และสังคมในทำนองเดียวกัน รวมทั้ง ความเห็นอก เห็นใจ ความรัก ความผูกพัน ที่ผู้บังคับบัญชามีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ในการอนุเคราะห์ ดูแลช่วยเหลือ กำลังพลและครอบครัว ในยามที่ ถึงแก่ความตาย หากได้ดำเนินการก่อตั้งกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ขึ้น เช่นเดียวกับ หมู่บ้าน ตำบล หรือชุมชนหลายแห่งดำเนินการอยู่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ประกอบกับในอดีตที่ผ่านมา เวลาเกิดสงครามจะมีกำลังพลเสียชีวิตมาก เป็นภาระที่ ทางราชการต้องคอยดูแลช่วยเหลือการจัดการศพ
๒
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ พลเอก หลวงเสนาณรงค์ (ศักดิ์ เสนาณรงค์) เมื่อครั้ง ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก จึงได้เริ่มก่อตั้งกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ ขึ้นในกองทัพบก การจัดตั้งครั้งนี้คงให้มีสมาชิกที่เป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรเพียง ส่วนเดียวก่อน

๓
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรทุกคน ที่เป็นสมาชิกช่วยเหลือกันออกเงิน เพื่อทำศพสมาชิก หากผู้หนึ่งผู้ใดถึงแก่กรรม
๔
การแบ่งมอบความรับผิดชอบ ในการจัดตั้งในครั้งแรก ได้มอบให้แผนกกลาง กรมเสนาธิการทหารบก เป็นผู้ดำเนินงานมีคณะกรรมการอำนวยการ เป็นผู้ควบคุมการดำเนินงาน โดยรองผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายกกรรมการ
๕
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่แผนกกลาง กรมเสนาธิการทหารบก ในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม
๖
การรับสมัครสมาชิกครั้งแรก จะรับสมัครเฉพาะข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ทั้งในและนอกประจำการที่เป็นทหารบก และข้าราชการกลาโหมพลเรือน สำหรับข้าราชการต่ำกว่าสัญญาบัตร และคนงาน ให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพบกเทียบชั้นกองพล (ระดับกองพลหรือเทียบเท่า) ต่างหน่วยต่างจัดขึ้น โดยยึดถือระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการฌาปนกิจที่ ๓ ๕๖๙๙/๕๖๙๙ ลงวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๔๘๙ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
๗
อัตราค่าบำรุงศพในการเริ่มครั้งแรก ได้กำหนดอัตราค่าบำรุงศพไว้ ศพละ ๒.- บาท
๘
ประเภทสมาชิก ได้แบ่งประเภทสมาชิกไว้ ๓ ประเภท
- สมาชิกสามัญ คือ สมาชิกที่ชำระค่าบำรุงศพๆละ ๒.- บาท ตลอดไปจนกว่าจะถึงแก่กรรม
- สมาชิกวิสามัญ คือ สมาชิกที่ส่งค่าบำรุงศพครั้งเดียว ๓๐๐.- บาท ต่อไปไม่ต้องชำระอีก
- สมาชิกกิตติมศักดิ์คือ สมาชิกที่ส่งค่าบำรุงศพครั้งเดียว ๕๐๐.- บาท ต่อไปไม่ต้องชำระอีก