กรุณาเลือกหัวข้อที่ต้องการทราบรายละเอียด
-
การเปลี่ยนแปลง คำนำหน้านาม - ยศ- ชื่อ -ชื่อสกุล
เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นเรื่อง
- สำเนาบัตรข้าราชการ หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- คำสั่งเลื่อนยศ
- หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว , ชื่อสกุล , หรือหนังสือรับรองบุคคลที่นายทะเบียนท้องที่ออกให้
-
การขอใบแทนใบต้อนรับ
เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นเรื่อง
- สำเนาบัตรข้าราชการ หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
-
การปฎิบัติเบื้องต้นเมื่อสมาชิกฯ ถึงแก่กรรม
เมื่อมีข้าราชการ ลูกจ้าง และครอบครัวของหน่วยเสียชีวิต เจ้าหน้าที่กำลังพลและเจ้าหน้าที่สวัสดิการ
ของหน่วย พึงปฏิบัติดังนี้1. การตรวจสอบ ตรวจสอบการเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ ทบ. ของผู้ถึงแก่กรรม จาก
– บัญชีรายละเอียดการส่งเงินสงเคราะห์ค่าจัดการศพของหน่วย
– โทรศัพท์สอบถามที่ กฌป.สก.ทบ.
– สอบถามญาติพี่น้องในครอบครัว และค้นหาดูใบต้อนรับ– แจ้งทายาท หรือผู้จัดการศพ เพื่อขอทราบกำหนดการบำเพ็ญกุศล และการจัดการศพ
จะดำเนินการที่ไหน เมื่อไร อย่างไร
– ถ้าเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ทายาทประสงค์จะขอน้ำหลวงอาบศพ ต้องไปติดต่อ
สำนักพระราชวัง เพื่อเขียนรายงานกราบถวายบังคมทูลลาตาย และขอพระราชทานเครื่องประกอบเกียรติยศศพ พร้อมหลักฐาน บัตรประจำตัว สำเนาคำสั่งแต่งตั้งยศ สำเนาราชกิจจานุเบกษาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และหากต้องการจะพระราชทานเพลิง เจ้าภาพจะต้องมีกำหนดการ วัน เดือน ปี เวลา สถานที่ในการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล และการพระราชทานเพลิงศพที่แน่นอนด้วย
– หน่วยจัดเจ้าหน้าที่ และเตรียมเอกสาร สำเนาใบมรณบัตร กำหนดการพระราชทานเพลิงศพ ( วัน เดือน ปี เวลา สถานที่ ) สำเนาใบต้อนรับ ( ถ้ามี ) เดินทางมายื่นคำร้องที่ กฌป.สก.ทบ. ( แผนกพิธี ) เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพ แผนกพิธีจะมีหนังสือให้ เจ้าภาพไปติดต่อกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ( ในพระบรมมหาราชวัง ) ได้ในวันเดียวกัน
– การขอพระราชทานเพลิงหลวง ไปพระราชทานเพลิงศพในเขตกรุงเทพมหานคร และ
ปริมณฑล เจ้าหน้าที่ของกองพระราชพิธี จะเป็นผู้เชิญเพลิงหลวงไป ตาม วัน เวลา กำหนด
โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
– การขอหีบเพลิง หน่วยต้องจัดเจ้าหน้าที่ไปรับหีบเพลิงพระราชทานเอง และสามารถรับไป
ได้ในวันเดียวกัน การเชิญหีบเพลิงให้ปฏิบัติตามเอกสารแนะนำของกองพระราชพิธี2. การดำเนินการ หากเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ ทบ. ให้รีบดำเนินการดังนี้
การแจ้งตาย
1. ผู้แจ้งการตาย
– เมื่อมีคนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนตายภายใน 24 ชม.
นับแต่เวลาตาย ในกรณีไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชม. นับแต่เวลาพบศพ
– เมื่อมีคนตายนอกบ้าน ให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพ เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่
ที่ตาย หรือพบศพภายใน 24 ชม. แจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือเจ้าพนักงานตำรวจ2. สถานที่รับแจ้งตาย
– กรณีมีคนตายนอกเขตเทศบาล ณ ท้องที่ใด ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ
– กรณีมีคนตายในเขตเทศบาล หรือกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีหน้าที่แจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักงานเทศบาล หรือเขตนั้น ๆ3. การเตรียมเอกสารและข้อมูลแจ้งตาย
– สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวของผู้ตาย
– สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง
– ปรึกษาหารือทายาท หรือผู้จัดการศพเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับศพ ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร4. ข้อมูลในใบมรณบัตร
1 ช่องผู้ตาย แจ้ง ยศ ชื่อตัว ชื่อสกุล เลขประจำตัวประชาชน เพศ อายุ ( ปีปัจจุบัน-ปีเกิด )
สัญชาติ อาชีพ สถานภาพการสมรส ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
2. ช่องรายการตาย ตายเมื่อ วัน เดือน ปี ผู้รักษาก่อนตาย หนังสือรับรองการตายจาก
สถานพยาบาล สาเหตุการตาย
3. ช่องสถานที่ตาย และที่อยู่ และพักอยู่สถานที่ตายนาน
4. ช่องบิดามารดาของผู้ตาย ชื่อตัว ชื่อสกุล และเลขประจำตัวประชาชน
5. ช่องผู้แจ้งการตาย ชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ ความเกี่ยวพัน
6. ช่องศพ จัดการศพโดย ( เผา , ฝัง , เก็บ ) สถานที่ ……………………………………..
7. ช่องใบรับแจ้งการตาย และ 8 วันที่รับแจ้งการตาย…………………………………..
หากมีการเปลี่ยนแปลงการจัดการศพ ให้เจ้าหน้าที่ลงในช่องเปลี่ยนแปลง และลงนามรับรองการแจ้งถึงแก่กรรมเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์
1. สมาชิกที่ชำระเงินส่วนกลาง ที่ กฌป.สก.ทบ. ทางธนาคาร ธนาณัติ และ เป....
-
การเปลี่ยนแปลงผู้รับเงินสงเคราะห์
เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นเรื่อง
- สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ ทบ. และผู้รับเงินสงเคราะห์คนใหม่
- สำเนาทะเบียนบ้านของสมาชืกฌาปนกิจสงเคราะห์ ทบ. และผู้รับเงินสงเคราะห์คนใหม่
1. แจ้งความประสงค์ ณ สำนักงานฌาปนกิจสงเคราะห์ ทบ.เป็นลายลักษณ์อักษร
– บัญชีรายละเอียดการส่งเงินสงเคราะห์ค่าจัดการศพของหน่วย
– โทรศัพท์สอบถามที่ กฌป.สก.ทบ.
– สอบถามญาติพี่น้องในครอบครัว และค้นหาดูใบต้อนรับ2. การเปลี่ยนแปลงผู้รับเงินสงเคราะห์ แต่ละครั้งต้องมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 365 วัน หลังจากได้รับอนุมัติ
3. กรณีผู้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิตก่อน ระยะเวลาที่กำหนด สมาชิกสามารถขอเปลี่ยนแปลงได้ แต่ท่านจะต้องแนบ ใบมรณบัตรด้วย
4. กรณีสมาชิกไม่ได้เป็นผู้ชำระเงินค่าบำรุงศพด้วยตนเอง ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ชำระเงินด้วย
-
การขอคืนสภาพ การเป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ ทบ.
เตรียมหลักฐาน ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ กฌป.สก.ทบ. พร้อมแสดงตัว
1. สำเนาทะเบียนบ้านสมาชิก ฯ ( นำฉบับจริงมาแสดงด้วย )
2. สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิก ฯ ( นำฉบับจริงมาแสดงด้วย )
3. ใบรับรองความเห็นแพทย์ ( โรงพยาบาลเอกชน หรือคลีนิคสามารถใช้ได้ )
4. เงินสดที่ค้างชำระ
5. ใบต้อนรับ ( ถ้ามี )
เอกสารที่ต้องนำมาเพิ่มเติมอื่น ๆ– หลักฐานเปลี่ยนชื่อ – สกุล
– ทะเบียนสมรส
– คำสั่งลาออก / เกษียณ / ให้ออก
– สมุดบัญชีธนาคารทหารไทย ( หากต้องการชำระเงินผ่านธนาคารทหารไทย )
กรณีผู้ประสงค์ขอคืนสภาพ ณ หน่วยภูมิภาค– ให้หน่วยรวบรวมรายชื่อ ผู้ที่ขอคืนสภาพเป็นสมาชิก ฯ ส่งให้ กฌป.สก.ทบ. ทราบล่วงหน้าก่อนเจ้าหน้าที่ชุดรับสมัครของ กฌป.สก.ทบ. เดินทางมาราชการ ณ หน่วยภูมิภาคตามที่กำหนด เตรียมเอกสารพร้อมแสดง ชำระเงินส่วนที่ค้างชำระ
– เจ้าหน้าที่ชุดรับสมัครจะไม่คืนสภาพการเป็นสมาชิก ฯ ให้กับผู้ที่มิได้ส่งรายชื่อให้กับ กฌป.สก.ทบ.คืนสภาพ ณ กฌป.สก.ทบ. อนุมัติ ภายใน 5 วันทำการ
คืนสภาพ ณ หน่วยภูมิภาค อนุมัติ ภายใน 10 วันทำการ
และส่งใบเสร็จรับเงินให้ ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ -
การขอให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีเงินฝากเพื่อเป็นค่าบำรุงศพ
เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นเรื่อง
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารทหารไทย ของตัวสมาชิกประเภทออมทรัพย์
- สำเนาคำสั่งให้ออกจากราชการ
- สำเนาคำสั่งโอนย้ายกระทรวง
- สำเนาใบมรณบัตร กรณีผู้ส่งเงินเสียชีวิต
- สำเนาใบสำคัญการหย่า
- สำเนาหลักฐานที่แสดงว่า ผู้ชำระเงินเดิม ไม่ประสงค์จะชำระแทน
- หนังสือยินยอมของสมาชิกที่จะหักร่วมในบัญชีเดียวกัน (สำเนาบัตรประชาชนของผู้หักร่วม)
-
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่
เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นเรื่อง
- สำเนาบัตรข้าราชการ หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน